วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไผ่สร้างชาติ

ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro).
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได                                                  คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รักธรรมชาติ ยิ้มแย้มแจ่มใสใจดี รักศิลปะ เสียงเพลงและดนตรี มีนิสัยอ่อนโยนอ่อนน้อมถ่อมตนและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดีมีภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่ใกล้มือในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือใช้สอยในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงามโดยเฉพาะไม้ไผ่ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์โดยตรงหรือแปรรูปให้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต คนไทยรู้จักคุ้นเคยและมีความผูกพันอย่างชนิดแยกไม่ออกมาตั้งแต่เกิดจนตาย กลายเป็นวัฒนธรรมสืบทอดกันต่อมา    "ไผ่" เป็นชื่อพันธุ์ไม้พวกหนึ่ง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ กล่าวว่า ไผ่เป็นชื่อพรรณไม้พวกหนึ่ง ( Bambusa spp.) อยู่ในวงศ์ Graminese เป็นกอ ลำต้นสูง และเป็นปล้องๆ มีหลายชนิดมากกว่า ๑,๒๕๐ ขนิด ๕๐ ตระกูล เช่น ไผ่จีน ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ดำ เป็นต้น ไม้ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะเฉพาะที่แปลกไปจากพืชและพันธุ์ไม้อื่นๆ เพราะแม้ว่าไผ่มีลักษณะที่ควรจะเป็นต้นไม้ แต่ไผ่กลับถูกจัดเป็นหญ้าประเภทหนึ่ง และเป็น "หญ้ายักษ์" เพราะลำต้นสูง กลวงเป็นปล้องๆ หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าใบไผ่คล้ายกับใบหญ้า ไผ่ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ เพราะหนึ่งในร้อยปีไผ่จึงอาจจะออกดอกสักครั้ง และหลังจากออกดอกแล้วก็ตาย ไผ่จะเติบโตอย่างรวดเร็วและจะโตเต็มที่ภายในสองเดือน และจะคงขนาดเช่นนั้นไปตลอดชีวิตของมัน ลำต้นของไผ่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๐.๗ - ๗ นิ้ว สูง ๑ - ๖๐ ฟุต ไผ่ขึ้นได้ทั้งในบริเวณที่มีอากาศอบอุ่นและอากาศเย็นต่ำกว่าศูนย์องศา ไผ่จึงเป็นไม้ที่มีมากในบริเวณเอเซียและแปซิฟิค อเมริกาใต้บางท้องถิ่น
คุณลักษณะพิเศษของ "ไผ่"
           ๑.ไผ่โตเร็วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ภายในเวลา ๑ - ๔ ปี และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่รากไผ่เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้ หนิอไผ่หรือหน่อไม้ใช้ทำอาหาร กาบหรือใบไผ่ใช้ห่ออาหารหรือหมักปุ๋ย กิ่งและแขนงใช้ทำรั้ว ลำต้นใช้ประโยชน์ได้สารพัดอย่าง ตั้งแต่นำมาใช้ปลูกสร้างที่พักอาศัยและแปรรูปเป็นเครื่องจักสานและเครื่องมือเครื่องใช้นานาชนิดจนถึงนำมาใช้เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย
           คังนั้นชาวนาจึงมักปลูกไผ่ตามหัวไร่ปลายนา และปลูกไว้รอบๆบ้าน เพื่อใช้เป็นรั้วบ้านและป้องกันพายุ เพราะไม้ไผ่จะลู่ตามลมไม่หักโค่นเหมือนไม้อื่น หากปลูกไผ่ไว้ตามริมแม่น้ำลำคลอง จะช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำไม่ให้ดินพัวทะลายง่าย นอกจากนี้ไผ่ยังใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ด้วย


           ๒. ไผ่มีลำต้นตรงและกลวงคล้ายหลอดและมีปล้องข้อคั่นเป็นปล้องๆ จึงใช้เป็นภาชนะประเภทกระบอก ถ้วย สำหรับใส่ของเหลว เช่นใช้เป็นกระบอกน้ำ กระบอกน้ำตาล ซึ่งใช้กันทั่วไปในหลายประเทศ ลักษณะพิเศษของไม้ไผ่นี้สามารถนำมาใช้สร้างอาคารที่พักอาศัยได้ โดยนำมาทำเป็นโครงสร้างของบ้านเรือน ใช้เป็นพื้นเรือน ฝาเรือน ใช้ทำรางน้ำ ท่อน้ำ และทำเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ยได้ดีอีก
           ๓. เนื้อไผ่เป็นเส้นตรงมีความยืดหยุ่นในตัวเองและสามารถคินตัวสู่สภาพเดิมได้ เมื่อนำไม้ไผ่มาแปรรูปก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ดี เพราะเนื้อไม้ไผ่เป็นเส้นตรง นำมาจักเป็นปื้นบางๆ หรือเหลาเป็นเส้นได้ดี จึงใช้ทำเครื่องจักสานนานาชนิดได้ ทั้งเครื่องจักสานที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรงมั่นคง สำหรับใช้งานหนักจนถึงเครื่องจักสานขนาดเล็กที่มีความปราณีตบอบบาง และเพราะคุณสมบัติในที่มีความยืดหยุ่น จึงเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องหาบหรือหาม เช่น คาน คันกระสุน คันธนูและเมื่อแปรรูปเป็นตอกก็ยังมีความยืดหยุ่นคืนรูปทรงเดิมได้ง่ายจึงทำให้ภาชนะจักสานที่ทำจากไผ่มีคุณลักษณะพิเศษต่างไปจากภาชนะที่ทำจากวัตถุดิบชนิดอื่น
           ๔. ไม้ไผ่มีความสวยงามในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผิวที่มีสีต่างๆ กันเมื่อแห้งแล้วมักจะมีสีเหลืองอยู่เช่นนั้นตลอดไป ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้ ชาวเอเซียจึงใช้เหล็กหรือโลหะเผาไฟจนร้อนแล้วเขียนตัวอักษรหรือลวดลายลงบนผิวไม้ไผ่ ( Bamboo Pyrographic ) เช่นจีนจารึกบทกวีบนผิวไม้ไผ่ ชาวญี่ปุ่นใช้เขียนชื่อเจ้าของบ้านแขวนไว้หน้าบ้านและจารึกบทกวีแขวนไว้สองข้างประตูเรือนน้ำชา ( Tea House ) ชาวเกาหลีใช้เขียนเป็นลวดลายบนเครื่องใช้ เช่นเดียวกับที่ชาวบาตัก ( Batak) ในประเทศอินโดนีเซีย ใช้เหล็กเผาไฟ ขูด ขีด เขียน ลงบนกระบอกไม้ไผ่ สำหรับเก็บยาหรือทำเป็นปฏิทิน ในขณะที่ชาวบาหลีใช้จารลงบนผิวไผ่เป็นแผ่นๆ เพื่อใช้เป็นคัมภีร์ในศาสนาตน นอกจากไม้ไผ่จะมีผิวสวยแล้ว เนื้อไผ่ยังมีลักษณะพิเศษต่างจากเนื้อไม้อื่นคือ มีเสี้ยนยาวขนานกันเป็นเส้น จึงแปรรูปเป็นเส้น เป็นปื้น หรือเหลาให้กลมได้ง่าย และเมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเป็นเส้นละเอียดแข็ง มอดแมลงไม่กินจนมีผู้กล่าวว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่นั้น ผู้สานสามารถสานให้เป็นรูปทรงแปลกๆ แตกต่างกันได้มากมาย จนเครื่องจักสานบางชิ้นมีรูปทรงและผิวสวยงามดุจงานประติมากรรมสมัยใหม่ทีเดียว
     อาหารจากหน่อไม้                                          หน่อไม้เป็นต้นอ่อนของไผ่ ไม้ไผ่เป็นทรัพยากรป่าไม้ที่มีค่ายิ่งต่อชีวิตและความเป็นอยู่ประจำวันของคนไทย โดยเฉพาะชาวชนบทจะมีความสัมพันธ์กับไม้ไผ่อย่างแน่นแฟ้น ทุกส่วนของไม้ไผ่นับตั้งแต่รากถึงยอดจะใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เริ่มตั้งแต่รากฝอยของไม้ไผ่ช่วยยึดติดไม่ให้ดินพังทลาย ต้นอ่อนของไผ่หรือหน่อไม้เป็นอาหารธรรมชาติของคนไทยมาช้านาน เหง้าสามารถนำไปทำเครื่องประดับ กิ่งก้าน มัดรวมกันสามารถใช้ทำเป็นไม้กวาดได้ และลำไม้ไผ่ใช้ทำบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำเครื่องเรือน ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร และภาชนะต่างๆ ทำเครื่องดนตรี เครื่องจักรสาน ใช้เป็นวัตถุ ดิบในอุตสาหกรรมผลินเยื่อกระดาษ การทำไหมเทียมตลอดจนไม้ไผ่นำมาทำเชื้อเพลิงได้
ส่วนที่ใช้เป็นอาหารได้แก่ หน่ออ่อนของไม้ไผ่หรือหน่อไม้รับประทานเป็นผักหน่อไม้เป็นผักที่มีมากในฤดูฝน พบในท้องตลาดทุกภาคของเมืองไทย ชาวบ้านนิยมนำมาทำเป็นอาหารกันทุกภาค ที่นิยมทำเป็นอาหารกันมากของชาวอีสาน คือ แกงหน่อไม้ใบย่านาง

เครื่องปรุง

หน่อไม้รวกเผา
5 หน่อ (300 กรัม)

ใบย่านาง
20 ใบ (115 กรัม)

เห็ดฟางฝ่าครึ่ง
½ ถ้วย (100 กรัม)

ชะอมเด็ดสั้น
½ ถ้วย (50 กรัม)

ฟักทองหั่นชิ้นพอคำ
½ ถ้วย (50 กรัม)

ข้าวโพดข้าวเหนียวฝานเอาแต่เมล็ด
½ ถ้วย (50 กรัม)

แมงลักเด็ดเป็นใบ
½ ถ้วย (50 กรัม)

ตะไคร้ทุบหั่นท่อน
2 ต้น (60 กรัม)

น้ำปลาร้า
3 ช้อนโต๊ะ (48 กรัม)

น้ำ
3?4 ถ้วย (300?400 กรัม)

กระชายทุบ
¼ ถ้วย (10 กรัม)

พริกขี้หนู
10 เม็ด (10 กรัม)

ข้าวเบือ
1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)

น้ำปลา
2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)


หมายเหตุ ข้าวเบือ คือ ข้าวเหนียวแช่น้ำประมาณ 20 นาทีขึ้นไป แล้วนำมาโขกใช้ละเอียด

วิธีทำ
1. โขลกข้าวเบือให้ละเอียด
2. ปอกเปลือกหน่อไม้ ตัดส่วนแก่ทิ้ง ตัดเป็นท่อนยาว 2 นิ้ว ต้มน้ำทิ้ง 2-3 ครั้ง ให้หายขื่น
3. โขลกใบย่านาง แล้วนำไปคั้นกับน้ำ ให้น้ำใบย่านางออก กรองใส่หม้อ
4. นำหม้อที่ใส่น้ำใบย่านางยกขึ้นตั้งไฟ ใส่หน่อไม้พอเดือดใส่กระชาย พริกขี้หนู ตะไคร้ ข้าวเบือ น้ำปลาร้า น้ำปลา ต้มสักครู่ ใส่ฟักทอง เห็ดฟาง ข้าวโพด เมื่อทุกอย่างสุกทั่วกันดี ใส่ชะอม ใบแมงลัก ยกหม้อลง

สรรพคุณทางยา
1. หน่อไม้ มีรสขมหวานร้อน
- ราก รสอร่อยเอียนเล็กน้อย ใช้ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ
- ใบไผ่ เป็นยาขับฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย
2. ย่านาง มีรสจืด ทั้งต้นนำมาปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ
- ใบ ใช้เป็นยาถอนพิษ ปรุงรวมกับยาอื่นแก้ไข้
- ราก แก้เบื่อเมา กระทุ้งพิษไข้ เป็นเมาสุรา ถอนพิษผิดสำแดง
3. เห็ดฟาง (เห็ดบัว) รสจืด ให้พลังงานและสารอาหารโปรตีนที่มีคุณค่าแทนเนื้อสัตว์ช่วยกระจายโลหิต
4. ชะอม รากชะอมมีสรรพคุณแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี ยอดชะอมใบอ่อน มีรสจืด กลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกาย
5. ฟักทอง มีคุณค่าทางอาหารสูง บำรุงสายตา บำรุงร่างกาย
6. ข้าวโพด รสหวานมัน เมล็ด เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมาน บำรุงหัวใจ ปอด เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ
- ราก ต้มกินรักษานิ่ว และอาเจียน
7. แมงลัก ใบสด รสหอมร้อน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง ขับลม
8. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ
9. กระชาย รสร้อน แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้บิดมีตัว ขับพยาธิตัวกลม และพยาธิเส้นด้ายในเด็ก ใช้แต่งกลิ่น สี รสอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ไม่มีพิษ
10. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยย่อย

ประโยชน์ทางอาหาร
แกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง รสชาติโดยรวมจะออกไปทางขมร้อน จากการใส่ผักหลายชนิดซึ่งมีทั้งรสร้อน

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มะละกอช่วยชาติ

ประโยชน์ของมะละกอ
นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้
สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้

เนื้อมะละกอสุก
สารอาหารปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม
โปรตีน0.5 กรัม
ไขมัน0.1 กรัม
แคลเซียม24 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส22 มิลลิกรัม
เหล็ก0.6 มิลลิกรัม
โซเดียม4 มิลลิกรัม
ไทอะมีน0.04 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน0.04 มิลลิกรัม
ไนอะซิน0.4 มิลลิกรัม
กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี)70 มิลลิกรัม

   สรรพคุณของมะละกอ                                                                                                                              สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้ 1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก
สรรพคุณ มะละกอ :
ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป้นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain
เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง
เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้ข้าวต้มยางมะละกอ ล้างหลอดเลือด คลอเลสเตอรอล น้ำตาล และ โรคอื่น ๆ
อาหาร
นำมะละกอดิบ มาหั่นเป็นชิ้น ๆ ชิ้นละประมาณ 1 ข้อของนิ้วมือ
ไม่ต้องปอกเปลือก
ใช้ครึ่งลูกต่อน้ำประมาณ 2 ลิตร ต้มในหม้อ
เมื่อเดือดแล้ว ให้เคี่ยวต่อ จนมะละกอเละ
เมื่อเละแล้ว ให้ช้อนมะละกอทิ้ง
เหลือน้ำไว้   น้ำนั้นคือ น้ำยางมะละกอ
นำน้ำยางมะละกอ มาหุงกับข้าวกล้อง
ควรจะใส่ใบเตยหุงไปด้วย เพื่อความสดชื่น
จะใช้น้ำเท่าไหร่ ให้กะเอากับจำนวนข้าวกล้อง
กะให้หุงมาเป็นข้าวต้ม ไม่ใช่แห้งเป็นข้าวสวย
น้ำยางมะละกอที่เหลือ แช่ตู้เย็นเก็บไว้ก่อน
ห้ามใช้ข้าวขาว เพราะข้าวกล้อง จะมีสารไปลด
พิษจากยางมะละกอ
หุงกับข้าวกล้อง ให้กลายเป็นข้าวต้ม ไม่ใช่ข้าวสวย
เมื่อได้ข้าวต้มยางมะละกอแล้ว ให้ทานติดกัน
7-10 วัน ทุกมื้อ แทนข้าว  ทานกับกับข้าวปกติ

ผลที่จะได้คือ ไขมันในหลอดเลือดจะถูกสลายไป
น้ำตาลในเลือดก็ลด ล้างไขมันในลำไส้ ล้างระบบดูดซึม
ช่วยเรื่องไตในกรณีที่ไตยังไม่วายแต่ทำงานไม่ปกติ
สูตรนี้ ท่านอ.สุทธิวัสส์ แนะนำว่าเป็นเลิศในการล้างระบบดูดซึม
แบบชุดใหญ่
ปีหนึ่ง ถ้าทำได้ 2 ครั้ง  สุขภาพจะแข็งแรง

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กล้วย

ประวัติความเป็นมาของกล้วย
ในเอกสารโบราณกล่าวว่า  กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย  พบมีอยู่มากในแถบเอเชียตอนใต้  โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย  พม่า  เขมร  จีนตอนใต้  หมู่เกาะอินโดนีเซีย  เกาะบอร์เนียว  ฟิลิปปินส์  และไต้หวัน
กล้วยในประเทศที่กล่าวถึงนั้น  เป็นกล้วยป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  ซึ่งต่อมาเมื่อมนุษย์สังเกตเห็นว่าสัตว์ต่างๆ  กินกล้วยเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงลองกินกล้วยดู  และเมื่อเห็นว่ากล้วยกินเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงเริ่มรู้จักวิธีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด  หน่อ  ติดตัวไปยังสถานที่ที่อพยพไป  ทำให้กล้วยแพร่หลายไปยังถิ่นต่างๆ  มากยิ่งขึ้น  จนมีผู้กล่าวว่า  กล้วยเป็นอาหารชนิดแรกของมนุษย์  และเป็นพืชชนิดแรกที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน
ในพระพุทธศาสนา  มีการวาดภาพต้นกล้วยในงานจิตรกรรม  ในภาพวาดเป็นการนำกล้วยไปสักการะพระเจ้ากาละ
จีนโบราณมีการบันทึกไว้ว่า  มีกล้วยอยู่  12  ชนิด  ได้แก่  ปารู  กัน-เชียว  ยาเชียว  ปาเชียว  นันเชียว  เทียนเชียว  ชีเชียว  ชุงเชียว  เมเจนเชียว  โปโชวเชียว  ยังเชียวเชียว  ยูฟูเชียว  กล้วยเหล่านี้ปลูกมากที่กวางตุ้ง  ฟูเกียง  ฯลฯ
กล้วยมีเส้นทางการเผยแพร่ราวกับนิยาย  เมื่อประมาณ  ปี  ค.ศ.200  บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนยังไม่มีการปลูกกล้วย  จนถึง  ค.ศ.650  เมื่อชาวอาหรับเดินทางติดต่อค้าขายกับแอฟริกา  พวกอาหรับได้นำกล้วยมาเผยแพร่ที่แอฟริกาด้วย
ในราวศตวรรษที่  15  เมื่อชาวยุโรปเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ  เพื่อ  การสำรวจและแสวงหาดินแดนใหม่  ณ  เวลานั้นปรากฏว่า  แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก  ประชาชนนิยมปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลาย
การเดินทางของกล้วยมิได้หยุดอยู่แค่นั้น  เพราะในปี  ค.ศ. 1400  ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นนักเดินเรือผู้เก่งกล้าสามารถได้นำกล้วยไปยังหมู่เกาะคานารีด้วย
ปัจจุบันหมู่เกาะคานารีเป็นแหล่งปลูกกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก  หมู่เกาะนี้ในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็นเกาะประวัติศาสตร์ของการแพร่พันธุ์กล้วยสู่โลกใหม่

ความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทยในตอนแรกได้กล่าวไปบ้างแล้วว่า  กล้วยเป็นพืชเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน  และโดยทางประวัติศาสตร์แล้ว  ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดสำคัญของกล้วยป่าขึ้นชุกชุม
กล้วยที่ถือว่าเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เป็นกล้วยที่ขึ้นอยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย  ได้แก่  กล้วยไข่ทองร่วง  กล้วยเล็บมือนาง  เป็นต้น
ประเทศไทยมีกล้วยหลากหลายพันธุ์  และสันนิฐานกันว่า  คนไทยเป็นชนชาติที่อพยพมาจากจีนตอนใต้  ซึ่งจีนตอนใต้นี้มีอาณาเขตอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย   ดังนั้นการอพยพของคนไทยจึงเป็นไปได้ว่าได้นำพันธุ์กล้วยที่เป็นสายพันธุ์จากอินเดียและจีนนำติดตัวมาด้วย  ทั้งนั้นเพราะกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายให้ผลเร็ว  เหมาะสำหรับนำติดตัวปลูกไว้เป็นอาหารยามขาดแคลน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เคยมีการสำรวจสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทย  พบว่ามีสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทยมากถึง 323  สายพันธุ์
ส่วนประกอบของต้นกล้วย
ผลกล้วย.. ใช้เป็นอาหารได้
ปลีกล้วย   ก็นำมาทำอาหารเป็นเครื่องเคียง มายำหัวปลี ฯลฯ
ใบกล้วยหรือเรียกว่าใบตอง  ก็ใช้ในงานฝีมือต่างๆ  นำมาห่อขนม-อาหารคาวก็ห่อได้ (ห่อหมก,ปิ้งงบ)
สมัยก่อนนำมารองเตารีดแบบใส่ถ่านไฟด้วย  นำมามวนยาเส้น ครับ
ก้านกล้วย  ก็นำมาทำของเล่นเด็กสมัยก่อน (ม้าก้านกล้วย ปืนก้านกล้วย ฯลฯ) มาทำเชือกกล้วยก็ได้
กาบกล้วย  นำมาทำงานฝีมือคือ การแทงหยวกกล้วยใช้ในพิธีต่าง
ลำต้น นำไปทำงานฝีมือได้อีก เป็นอาหารสัตว์ก็ได้ครับ
รากของต้อนกล้วยก็นำมาเป็นสมุนไพรได้นะ (แก้ปวดฟัน) (แก้เมาค้าง)
ใยกล้วยก็สามารถนำมาทำผลิตภัณฑ์ได้อีก ก็มีพวก กระดาษใยกล้วย ตุ๊กตาใยกล้วย ฟองน้ำใยกล้วย
 
สรรพคุณของต้นกล้วย
 
 
กล้วยมีสรรพคุณกว้างขวางพบสารสำคัญหลายชนิดใน กล้วย เช่น benzopyrene, dopamine, epinephrine, tryptamine และ serotonin เป็นต้น โดยผลดิบมีสารแทนนินมาก จึงรักษาอาการท้องเสีย และบิด และมี ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เชื่อว่าเกิดจากการกระตุ้นผนัง กระเพาะอาหารให้หลั่งสารเมือกออกมามากขึ้นและกระตุ้นให้เนื้อเยื่อของ กระเพาะเจริญเพื่อปิดแผลเมื่อเปรียบเทียบกับยารักษาโรคกระเพาะอื่นๆ ซึ่ง เป็นสารเคมีสังเคราะห์ เช่น aluminium hydroxide, cimetidine เป็นต้น สาร ประเภทนี้สามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะได้ แต่ไม่สามารถสมานแผล ได้เหมือนกล้วย สารที่มีฤทธิ์ต้านแผลในกระเพาะของกล้วยคือ sitoindo side I ถึง IV โดยสาร sitoindoside IV หรือ sito sterol - 3 เป็นสารที่มีฤทธิ์มากที่สุด ไม่พบฤทธิ์ต้านการเกิดแผลของกระเพาะอาหารในกล้วยสุก แต่กล้วยสุกมี สรรพคุณเป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็นริดสีดวงทวาร หรือผู้มีอุจจาระแข็ง

ประโยขน์ของกล้วย

มีอาหารว่างใดดีไปกว่ากล้วย อุดมด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุคโทส และกลูโคสรวมกับเส้นใยและกากอาหาร กล้วยจะช่วยเสริมเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายทันทีทันใด จากงานวิจัยพบว่ากินกล้วยแค่ 2 ผล ก็สามารถเพิ่มพลังงานให้อย่างเพียงพอกับการออกกำลังกายอย่างเต็มที่ได้นานถึง 90 นาที จึงไม่น่าแปลกใจที่กล้วยเป็นผลไม้อันดับหนึ่งของนักกีฬา

ชั้นนำระดับโลกไม่ใช่เพียงแค่เพิ่มพลังงานเท่านั้น
ยังช่วยเอาชนะและป้องกันโรคต่าง ๆ ที่จะเกิดกับ ร่างกายได้อีก หลายโรค จึงควรรับประทานทุกวัน

1. โรคโลหิตจาง
ในกล้วยมีธาตุเหล็กสูงจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการผลิตฮีโมโกลบินในเลือดและจะช่วยใน
กรณีที่มีสภาวะขาดกำลัง หรือภาวะ โลหิตจาง

2. โรคความดันโลหิตสูง
มีธาตุโปรแตสเซียมสูงสุดแต่มีปริมาณเกลือต่ำทำให้เป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบที่สุด
ที่จะช่วยความดันโลหิตมาก อย.ของอเมริกายินยอมให้อุตสาหกรรมการปลูกกล้วย
สามารถโฆษณาได้ว่ากล้วยเป็นผลไม้พิเศษ ช่วยลดอันตรายอันเกิดจากเรื่องความดันโลหิต
หรือโรคเส้นเลือดฝอยแตก

3. กำลังสมอง
นักเรียน 200 คน ที่โรงเรียนTwickenham ได้รับผลดีจากการสอบตลอดปีนี้
ด้วยการรับประทานกล้วยในมื้ออาหารเช้าตอนพักและมื้ออาหารกลางวันทุกวัน
เพื่อช่วยส่งเสริมกำลังของสมองในพวกเขาจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า
ปริมาณโปรแตสเซียมที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในกล้วยสามารถให้นักเรียน มีการตื่นตัวในการเรียนมากขึ้น

4. โรคท้องผูก
ปริมาณเส้นใยและกากอาหารที่มีอยู่ในกล้วยช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ
และยังช่วยแก้ปัญหาโรคท้องผูกโดยไม่ต้องกินยาถ่ายเลย

5. โรคความซึมเศร้า
จากการสำรวจเร็ว ๆ นี้ในจำนวนผู้ที่มีความทุกข์เกิดจากความซึมเศร้าหลายคน
จะมีความรู้สึกที่ดีขึ้นมากหลังการกินกล้วย
เพราะมีโปรตีนชนิดที่เรียกว่า trypotophan เมื่อสารนี้เข้าไป
ในร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็น serotonin
เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวผ่อนคลายปรับปรุงอารมณ์ให้ดีขึ้นได้
คือทำให้เรารู้สึกมีความสุขเพิ่มขึ้นนั่นเอง

6. อาการเมาค้าง
วิธีที่เร็วที่สุดที่จะแก้อาการเมาค้าง คือการดื่มกล้วยปั่นกับนมและน้ำผึ้ง
กล้วยจะทำให้กระเพาะของเราสงบลงส่วนน้ำผึ้งจะเป็นตัวช่วยหนุนเสริม
ปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดที่หมดไปในขณะที่นมก็ช่วยปรับระดับของเหลวในร่างกายของเรา

7. อาการเสียดท้อง
กล้วยมีสารลดกรดตามธรรมชาติที่มีผลต่อร่างกายของเรา ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับอาการเสียดท้อง
ลองกินกล้วยสักผลคุณจะรู้สึกผ่อนคลายจากอาการเสียดท้องได้

8. ความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า
การกินกล้วยเป็นอาหารว่างระหว่างมื้ออาหารจะรักษาระดับน้ำตาลในเส้นเลือดให้คงที
่เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า

9. ยุงกัด
ก่อนใช้ครีมทาแก้ยุงกัดลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด
มีหลายคนพบอย่างมหัศจรรย์ว่าเปลือกกล้วยสามารถแก้เม็ดผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้

10. ระบบระสาท
ในกล้วยมีวิตามินบีสูงมาก ช่วยทำให้ระบบประสาทสงบลงได้
โรคน้ำหนักเกินและโรคที่เกิดในที่ทำงานจากการ
ศึกษาของสถาบันจิตวิทยาในออสเตรียค้นพบว่าความกดดันในที่ทำงาน
เป็นเหตุนำไปสู่การกินอย่างจุบจิบ เช่นอาหารพวกช็อคโกแล็ตและอาหารประเภททอดกรอบต่าง ๆ
ในจำนวนคนไข้ 5,000 คน ในโรงพยาบายต่างๆนักวิจัยพบว่า
ส่วนใหญ่เป็นโรคอ้วนมากเกินไป และส่วนใหญ่ทำงานภายใต้ความกดดันสูงมาก
จากรายงานสรุปว่าเพื่อหลีกเลี่ยงการตื่นตระหนกและนำไปสู่การกินอาหารอย่างบ้าคลั่ง
เราจึงต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดด้วยการกินอาหารว่างที่มีปริมาณคาร์โบโฮเดรตสูง
เช่น กินกล้วยทุก 2 ชั่วโมงเพื่อรักษาปริมาณน้ำตาลให้คงที่ตลอดเวลา
ไม่ต้องคำนึงถึงเรื่อยยาการกินกล้วยที่มีวิตามินบี 6
ซึ่งประกอบด้วยสารควบคุมระดับกลูโคสที่สามารถมีผลต่ออารมณ์ได้

11. โรคลำไส้เป็นแผล
กล้วยเป็นอาหารที่แพทย์ใช้ควบคุมเพื่อต้านทานการเกิดโรคลำไส้เป็นแผล
เพราะเนื้อของกล้วยมีความอ่อนนิ่มพอดีเป็นผลไม้ชนิดเดียวที่ทานได้ง่ายๆ
ไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคลำไส้เรื้อรังและกล้วยยังมีสภาพเป็นกลางไม่เป็นกรด
ทำให้ลดการระคายเคืองและยังไปเคลือบผนังลำไส้และกระเพาะอาหารด้วย

12. การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ในวัฒนธรรมของหลายแห่งเห็นว่ากล้วยคือผลไม้ที่สามารถทำให้อุณหภูมิเย็นลงได้
ทั้งทางร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะอุณหภูมิของอารมณ์ของคนที่เป็นแม่ที่ชอบคาดหวัง
ตัวอย่างในประเทศไทย จะให้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์รับประทานกล้วยทุกวัน
เพื่อให้แน่ใจว่าทกรกที่เกิดมาจะมีอุณหภูมิเย็น

13. ความสับสนของอารมณ์เป็นครั้งคราว
กล้วยสามารถช่วยในเรื่องของอารมณ์และความสับสนได้
เพราะในกล้วยมีสารตามธรรมชาติ trypotophan ทำให้อารมณ์ดี

14. การสูบบุรี่
กล้วยสามารถช่วยคนที่กำลังพยายามเลิกสูบบุหรี่
เนื่องจากในกล้วยมีปริมาณของวิตามินซี เอ บี 6 และบี 12 ที่สูงมาก
และยังมีโปรแตสเซียมกับแมกนีเซียมที่ช่วยทำให้ร่างกายฟื้นคืนตัวได้เร็ว
อันเป็นผลจากการลดเลิกนิโคตินนั่นเอง

15. ความเครียด
โปรแตสเซียมเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติ
การส่งออกซิเจนไปยังสมองและปรับระดับน้ำในร่างกาย
เวลาเกิดอารมณ์เครียด อัตรา metabolic ในร่างกายของเราจะขึ้นสูง
และทำให้ระดับโปรแตสเซียมในร่างกายของเราลดลง
แต่โปรแตสเซียมที่มีอยู่สูงมากในกล้วยจะช่วยให้เกิดความสมดุล

16. เส้นเลือดฝอยแตก
จากการวิจัยที่ลงในวารสาร "The New England Journal of Medicine"
การกินกล้วยเป็นประจำสามารถลดอันตรายที่เกิดกับเส้นโลหิตแตกได้ถึง 40%

17. โรคหูด
การรักษาหูดด้วยวิธีทางเลือกแบบธรรมชาติโดยการใช้เปลือกของกล้วยวางปิดลงไปบนหูด
แล้วใช้แผ่นปิดแผลหรือเทปติดไว้ ให้ด้านสีเหลืองของเปลือกกล้วยออกด้านนอก ก็จะสามารถรักษาโรคหูดให้หายได้

เห็นหรือไม่ว่า กล้วยรักษาโรคต่าง ๆ อย่างธรรมชาติได้มากมายท่านควรลองพิสูจน์ด้วยตัวเองบ้างว่าจะได้ผลตามที่กล่าวหรือไม่และเมื่อเปรียบเทียบแอปเปิ้ลแล้ว กล้วยมีโปรตีนมากกว่าแอปเปิ้ล 4 เท่า มีคาร์โบรไฮเดรตมากกว่า 2 เท่า มีฟอสฟอรัสมากกว่า 3 เท่า มีวิตามินเอและธาตุเหล็กมากกว่า 5 เท่า และมีวิตามินรวมทั้งแร่ธาตุอื่น มากกว่าอีก 2 เท่า และกล้วยยังอุดมด้วยโปรแตสเซียม กล้วยจึงเป็นหนึ่งใน อาหารที่ดีที่สุด

ดังนั้นถึงเวลาแล้วหรือยังที่เคยกินแอปเปิ้ลวันละผลทุกวันไม่ต้องไปหาหมอ หันมาคุ้นเคยกับคำว่า "กินกล้วยวันละผล ก็ไม่ต้องไปหาหมอ" นอกจากนี้มีคนที่เคยเป็นตะคริวที่เท้า ข้อเท้า และน่อง
แนะนำให้กินกล้วยทุกวัน ตั้งแต่นั้นมาไม่เป็นตะคริวอีกเลยและหายไป